วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

The Sea of Stars


http://soscity.co/article/travelplusscience/bioluminescence-a-beauty-of-beach


     บทความที่แล้วเราพูดถึงแสงบนท้องฟ้าไปกันแล้ว งั้นคราวนี้เรามาพูดถึงแสงสว่างใต้ท้องทะเลกันเถอะ



     หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องทะเลเรืองแสงกันมาแล้วใช่ไหมเอ่ย?



     ท้องทะเลยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยละอองแสงสีฟ้าอมเขียวเรืองรองสว่างไสวแข่งกับแสงดาวบนท้องฟ้า โหย โรแมนติกสุด ๆ ไปเลยใช่ไหมล่ะ?



     ทุกคนคิดว่าสถานที่แบบนี้มีอยู่จริงหรือแค่ภาพแต่งกันนะ?


http://olivergrand.com/beaches-to-add-to-your-bucket-list/


     อ๊ะ ๆ ถ้าคิดว่าที่แบบนี้มีแค่ในหนังเท่านั้นล่ะก็.......คุณคิดผิดค่ะ



     มันมีอยู่จริง ๆ นะคะซิส! แม้แต่ประเทศไทยของพวกเราก็มีสถานที่แบบนี้เหมือนกันนะ



     อย่าทำหน้าไม่เชื่อแบบนั้นสิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบนี้เราสามารถอธิบายสาเหตุได้ด้วยนะ



     ถ้าใครอยากรู้ว่าสิ่งใดกันที่สร้างแสงสว่างให้กับท้องทะเลแบบนี้ ก็เลื่อนลงไปอ่านกันเลยค่า
.
.
.
     เริ่มจากคำถามแรกกันก่อน...อะไรที่ทำให้เกิดแสงสว่างในทะเลแบบนั้นได้?




http://orma.com/sea-life/plankton-facts/




     ตามธรรมชาติ ในทะเลจะมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่แทบจะมองไม่เห็นล่องลอยอยู่มากมายหลากหลายชนิด พวกนี้เรียกรวมๆ กันว่า แพลงก์ตอน (Plankton) โดยแพลงก์ตอนที่สามารถเรืองแสงแบบนี้ได้นั้นเป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellates)  แพลงก์ตอนพวกนี้พบได้ทั่วโลกเป็นปกติ แต่จะแพร่พันธุ์ได้มากเป็นพิเศษ หรือ เกิดการ Bloom ขึ้นในทะเลที่มีแอมโมเนีย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส อยู่มาก ซึ่งนั่นเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของพวกมันนั่นเอง แต่หากมีมากจนเกินไปอาจเป็นการทำลายระบบนิเวศบริเวณนั้นไปเลยก็ได้นะ










     ส่วนคำถามถัดมา...แล้วแพลงก์ตอนพวกนี้เรืองแสงได้ยังไงกันนะ?

     แพลงก์ตอนเหล่านี้สามารถเกิดปฏิกิริยาพิเศษเรียกว่า Bioluminescence ในออแกเนลล์ชื่อว่า ซินทิลลอนส์ (Scintillons) คล้าย ๆ กับปฏิกิริยาเรืองแสงในหิ่งห้อยเลย แต่เป็นคนละปฏิกิริยาและใช้สารคนละตัวกันเท่านั้นเอง ซึ่งในแพลงก์ตอนนี้จะเกิดปฏิกิริยาระหว่าง Luciferin Protein กับ เอนไซม์ Luciferase โดยใช้ ATP ทำให้เกิดการเรืองแสงสีน้ำเงิน เมื่อแพลงก์ตอนพวกนี้อยู่รวมกันมาก ๆ เราจึงเห็นทะเลเรืองแสงสีน้ำเงิน หรือ เขียวอมฟ้าออกมานั่งเอง

http://fox41blogs.typepad.com/wdrb_weather/2013/10/bizarre-lake-in-australia-glows-in-the-dark.html




     งงอ่ะดิ ไม่ต้องกังวลไปเพราะเราก็งง ฮ่า ๆ ๆ



     สรุปง่าย ๆ แล้วกันนะคะทุกคน แสงของแพลงก์ตอนเหล่านั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์ของมัน และเมื่อเซลล์นับพันล้าน ๆ เซลล์รวมตัวกันก็จะเกิดแสงเรืองรองออกมาให้เราได้เห็นกันนั่นเอง แน่นอนว่ามีปลาหรือพืชบางชนิดที่สามารถเกิดปฏิกิริยาแบบนี้ได้ด้วยนะ อย่างแมงกระพรุน หรือสัตว์น้ำลึกหลาย ๆ พันธุ์...


https://www.pinterest.com/pin/276901077068456726/
https://www.pinterest.com/pin/9499849191805577/





https://www.pinterest.com/pin/31947478577280683/



     แพลงก์ตอนเหล่านี้โดยปกติแล้วก็ไม่มีอันตรายอะไรนะ ทั้งยังสามารถเป็นอาหารให้กับปลาบางชนิดได้อีกด้วย แต่ถ้าหากในทะเลแถบนั้นมี แอมโมเนีย หรือฟอสฟอรัสมาก จนทำให้แพลงก์ตอนนี้มากเกินไปอย่างที่พูดถึงมาแล้วข้างต้นล่ะก็ จะส่งผลให้แพลงก์ตอนชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และปลาที่กินแพลงก์ตอนกลุ่มนี้มากเกินไปก็จะได้รับแอมโมเนียมากผิดปกติ ทำให้ปลาตายได้ แย่กว่านั้นคือ ถ้าชาวประมงจับปลาบริเวณนั้นด้วย คนที่กินปลาเข้าไปก็จะได้รับพิษของแอมโมเนียไปด้วย ซึ่งแอมโมเนียนี้จะมีผลต่อระบบประสาทของเรานั่นเอง



     เห็นสวย ๆ แบบนี้ก็มีอาจเป็นอันตรายได้เหมือนกันนะเนี่ย



     ซึ่งพวกแอมโมเนีย หรือฟอสฟอรัสมากผิดปกติเนี่ย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เราทิ้งขยะ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำนะคะทุกคน



     ถ้าหากเราอยากรักษาความสวยงามตามธรรมชาติแบบนี้ไว้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ และตัวเราล่ะก็ ต้องเริ่มจากตัวพวกเราก่อนนะ ช่วย ๆ กันรักษาแหล่งน้ำ ช่วย ๆ กันอนุรักษ์ความสวยงามของธรรมชาติด้วยกันนะคะ


http://www.theatlantic.com/photo/2015/01/a-bioluminescent-bloom-in-hong-kong/384759/



     สุดท้ายนี้ขอทิ้งท้ายด้วยคลิปที่ชายหาด Vaadhoo, Raa Atoll Islands, Maldives นะคะ สวยมากจริง ๆ ค่ะ ฮืออออออ




     ถ้าอ่านบทความนี้จบแล้วชอบล่ะก็ สามารถกลับไปตามอ่านบทความน่าสนใจก่อนหน้านี้กันได้ตามลิงค์ภาพด้านล่างนี้เลยนะคะ

 All About Coffee!Aurora PolarisTERRARIUM






อ้างอิง :

http://animals.spokedark.tv/2014/10/01/ostracods-with-bioluminescence/#.V4euo_mLTcc

https://en.wikipedia.org/wiki/Bioluminescence

http://soscity.co/article/travelplusscience/bioluminescence-a-beauty-of-beach

https://tawinan2535yingsom.wordpress.com/2013/12/19/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B0/

http://pantip.com/topic/30869906

http://www.pcd.go.th/info_serv/water_marine.html


Aurora Polaris

https://earthandstarryheaven.com/2015/02/19/aurora-borealis/



     ปรากฏการณ์ธรรมชาติสวยงามต่าง ๆ บนโลกนี้มีให้เราได้เห็นอยู่มากมายกันเลยทีเดียวค่ะ รวมทั้ง แสงขั้วโลก (Aurora Polaris) หรือ แสงออโรร่า (หรืออาจเรียกว่าแสงเหนือ-แสงใต้ก็ได้นะคะ) ที่หลาย ๆ คนคงเคยเห็นในภาพถ่าย หรือไปเห็นกับตามาก็แล้วแต่นี้ก็เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาเช่นเดียวกันค่ะ


Aurora Borealis, Manitoba, Canada
http://photography.nationalgeographic.com/wallpaper/photography/photos/best-pod-june-09/aurora-manitoba/



     แสงออโรร่าคือปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ค่ะ โดยแสงเหนือจะใช้ชื่อว่า Aurora Borealis ส่วนแสงใต้จะใช้ชื่อว่า Aurora Australis ซึ่งก่อนหน้าชื่อเหล่านี้ก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายเลย แต่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏเป็นชื่อแรกก็คือ Aurora Borealis นี่แหละค่ะ (ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดยกาลิเลโอ มีความหมายในภาษาละตินว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ โรแมนติกไหมล่ะคะ ฮืออออ)



     ในอดีตมีความเชื่อเกี่ยวกับแสงออโรร่าแตกต่างกันไปตามแต่ล่ะถิ่นฐานมากมายกันเลยทีเดียว อย่างเช่นความเชื่อที่ว่าเป็นแสงที่ดวงวิญญาณพยายามที่จะติดต่อกับมนุษย์ในทวีปอเมริกา หรือในนอร์เวย์ และชาวไวกิ้งมีความเชื่อว่าเป็นวิญญาณของสาวพรหมจารีที่ลงมาร่ายรำในยามค่ำคืนค่ะ และยังมีความเชื่อของชาวเอสกิโม และชนพื้นเมืองทางตอนเหนือของแคนาดาที่เชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่พยายามติดต่อสื่อสารกับลูก ๆ หลาน ๆ ของตนอีกด้วยค่ะ


http://www.bivrost.com/history/



     หากมองตามความเชื่อก็อาจดูเป็นสิ่งสวนงามที่น่าพิศวงไปในตัวสินะคะ



     แต่ว่าในทางวิทยาศาสตร์นั้น ปัจจุบันสามารถอธิบายสาเหตุการเกิดแสงออโรร่าได้แล้วค่ะ


ภาพอริสโตเติลที่วาดโดย Francesco Hayez เมื่อปี 1811
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101989






     ประวัติศาสตร์การค้นหาความจริงของปรากฏการณ์นี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยอริสโตเติลกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าหลักการที่อริสโตเติลได้อธิบายไว้จะไม่ถูกหลักไปทั้งหมด แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ให้พวกเราทุกคนได้รับรู้กันค่ะ









คริสเชียน เบิร์กแลนด์ (Kristian Birkeland)
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Alf_Collett_av_Asta_N%C3%B8rregaard_OB.00253.jpg
   

     และในที่สุดก็มีนักวิทยาศาสตร์คนนึงสามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ได้ค่ะ และเค้าก็มีชื่อว่าคริสเชียน เบิร์กแลนด์ (Kristian Birkeland) ค่ะ


     หากจะให้อธิบายสาเหตุการเกิดตามหลักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดล่ะก็ หัวของคนเขียนคงจะเกิดปรากฏการณ์บิ๊กแบงขึ้นบนโลกแน่ ๆ เลย (ขอตัวไปกินยาระงับประสาทแป๊บนะคะ) เพราะฉะนั้นขอสรุปออกมาตามความเข้าใจแบบง่าย ๆ คร่าว ๆ แทนแล้วกันนะคะ (หากใครยากอ่านแบบเต็ม ๆ คลิกลิงค์นี้เลยค่า http://pantip.com/topic/30338590)








     สาเหตุของปรากฏการณ์นี้เริ่มมาจากดวงอาทิตย์ค่ะ เมื่อดวงอาทิตย์ของพวกเราเกิดการปะทุนั้นจะปล่อยประจุไฟฟ้าออกมา ก่อเป็นพายุสุริยะที่มีกำลังค่อนข้างแรง พุ่งมายังโลกแล้วทะลุผ่านสนามแม่เหล็กโลกไหลเข้ามายังขั้วโลกค่ะ แล้วทีนี้อนุภาคประจุเหล่านั้นก็ทำปฏิกิริยากับก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งก๊าซเหล่านี้ก็ทำให้เกิดแสงหลากสีขึ้นให้เราเห็นนั่นเองค่ะ


http://northernlightstours.com/info-on-northern-lights/what-are-northern-lights/




     เพราะงั้นเราจะสามารถมองเห็นแสงเหล่านี้ได้เรื่อย ๆ ตลอดทั้งปีในบางพื้นที่ แต่จะมีทุก ๆ 11 ปีที่จะเกิดแสงได้บ่อย และชัดกว่าปีอื่น ๆ นั่นก็คือปีที่ดวงอาทิตย์เกิดจุดดับนั่นเองค่ะ ซึ่งพอเกิดจุดดับมาก ๆ ก็จะเกิดการปะทุมาก และพายุสุริยะแรงมาก ๆ ตามไปด้วยค่ะ



     และสาเหตุที่ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะเห็นแสงสีเขียว และสีแดงมากกว่าสีอื่น ๆ นั้นก็เพราะว่า แสงทั้งสองสีนี้เกิดจากการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในแต่ละระดับความสูงนั่นเองค่ะ



     ค่ะ สรุปสาเหตุการเกิดจบแล้วค่ะคุณกิตติ เป็นการสรุปที่เหนื่อยมากเลย (กินยาเพิ่มอีกสองเม็ด)



     หากใครมีงบแล้วอยากไปดูแสงออโรร่านี้ด้วยตาตัวเองล่ะก็ ต้องคอยติดตามข่าวด้วยนะคะ เพราะว่าในแต่ละพื้นที่นั้นจะเกิดขึ้นแตกต่างกันไปค่ะ แต่ก็ต้องเผื่อใจไว้นกด้วยนะคะ เพราะบางทีถึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นแต่ดันเกิดตอนกลางวันก็ทำให้มองไม่เห็นแสงได้ค่ะ (นกตัวใหญ่มาก)



     เอาล่ะ ได้รู้จักแสงออโรร่ากันไปพอประมาณแล้ว ขอตัดจบดื้อ ๆ ตรงนี้เลยนะคะ หัวกำลังจะบิ๊กแบงจริง ๆ แล้วล่ะค่ะ


     ก่อนจะจากกันไปเรามาดูภาพความสวยงามของแสงออโรร่านี้ในแต่ละประเทศกันก่อนดีกว่าโนะ

เมือง Lofoten ประเทศ Norway
https://www.reddit.com/r/pics/comments/1ptf88/northern_lights_norway/


เมือง TROMSØ ประเทศ NORWAY
http://www.kinggoya.com/the-greatest-light-show-on-earth


เมือง Yellowknife ประเทศ Canada
http://www.sensa.si/za-navdih/dih-jemajoci-posnetki-aurore-borealis/


เมือง Calgary ประเทศ Canada
http://mockgirl.com/comic/thats-a-moms-job/


     ความสวยงามจากธรรมชาติที่ต่อให้โลกก้าวหน้า พัฒนาไปมากสักแค่ไหนก็ไม่สามารถเลียนแบบออกมาได้ล้ำค่าและงดงามเทียบเท่านั้นมีอยู่มากมายจริง ๆ นะคะ ดูภาพแล้วรู้สึกปลอดโปร่งขึ้นมาเยอะเลย หวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านจะรู้สึกสนุกไปกับเรานะ แล้วเจอกันบทความหน้าค่า


     ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้สามารถคลิกภาพด้านล่างได้เลยนะ ขอบคุณที่หลงเข้ามาแล้วอ่านจนถึงตรงนี้ด้วยนะคะ (นั้มตาไหล)



http://glassterraruims.blogspot.com/2016/06/easy-terrarium-diy.html

http://glassterraruims.blogspot.com/2016/06/all-about-coffee.html



















อ้างอิง :

http://www.vcharkarn.com/varticle/38509

http://pantip.com/topic/30338590

http://teen.mthai.com/variety/73134.html

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2_(%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

EASY TERRARIUM D.I.Y.



  อยากลองทำสวนในห้องกันดูไหมคะ?


   'ทำสวนในห้อง'

   อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ แน่นอนว่าสมัยนี้อะไร ๆ ก็เป็นไปได้แทบจะทุกอย่างแล้ว รวมถึงการทำสวนที่ในสมัยก่อนต้องใช้พื้นที่พอสมควรในการปลูกต้นไม้ และยิ่งคนที่อาศัยอยู่หอพักหรือคอนโดยิ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหาพื้นที่ที่เหมาะสมมาจัดสวนใช่ไหมคะ แต่ถ้าหากเราย่อขนาดสวนแปลงใหญ่ให้เล็กลงจนสามารถปลูกภายในตัวอาคารได้ล่ะ? ดูสะดวกสบายและน่าสนุกดีใช่หรือเปล่า?    


   เคยได้ยินคำว่า Terrarium กันบ้างไหมคะ?

   Terrarium หรือก็คือ สวนขวดแก้ว นั่นเองค่ะ ถ้าหากใครที่อยู่หอพัก คอนโด หรือบ้านที่มีพื้นที่น้อย แต่ชอบจัดสวน หรืออยากมอบสวนสวย ๆ น่ารัก ๆ เป็นของขวัญให้กับคนพิเศษล่ะก็ ลองมาทำสวนขวดแก้วกันดูสิคะ


   การจัดสวนขวดแก้วก็เหมือนกับการทำสวนในเรือนกระจกขนาดเล็ก ๆ กะทัดรัดในโหลแก้วรูปทรงสวยงามต่าง ๆ สวนขวดนั้นมีทั้งแบบระบบปิด และ แบบระบบเปิด ค่ะ




   สวนขวดแบบระบบปิด ก็คือการปลูกพืชโดยใช้โหลแก้วที่มีฝาปิดเพื่อกักเก็บความชื้นในขวดโหลให้สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้อีกโดยไม่ต้องรดน้ำบ่อย ๆ พืชที่ปลูกจะค่อย ๆ เติบโตไปอย่างช้า ๆ ในขวดโหลค่ะ



   ส่วนสวนขวดแบบระบบเปิดนั้นจะใช้ขวดโหลแบบที่ไม่มีฝาปิดค่ะ การทำสวนระบบเปิดจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษหน่อย เพราะเนื่องจากน้ำในโหลจะสามารถระเหยออกมาข้างนอกได้ จึงต้องการการรดน้ำมากกว่าระบบปิด ถ้าใครเป็นคนที่ชอบดูแลสวนล่ะก็ สวนขวดแบบระบบเปิดน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีเลยนะคะ



   สิ่งที่จำเป็นสำหรับนักจัดสวนขวดมือใหม่นั้นอันดับแรกเลยก็คือเครื่องไม้เครื่องมือนั่นเองค่ะ เราจำเป็นต้องเตรียมอะไรบ้างมาดูกันเลย...


o สิ่งแรกที่ขาดไม่ได้ก็คือโหลแก้วรูปทรงตามที่ชอบค่ะ แนะนำให้ใช้แก้วใสไม่มีสีนะคะ เพราะว่าสีต่าง ๆ อาจจะส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโตของพืชได้ค่ะ
o  อย่างที่สองก็คือดินร่วนที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ทั่วไป หรือถ้าให้ดีจะใช้พีทมอส (Peat Moss) แทนก็ได้ค่ะ เพราะว่าพีทมอสจะมีสารอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินค่ะ
o  ถัดมาก็คือ หินกรวดขนาดเล็กค่ะ
o  สแฟ็กนั่มมอส (Sphagnum moss) ขี้เลื่อย หรือ จะใช้ทรายแทนก็ได้ค่ะ
o  ถ่านไม้
o  อุปกรณ์ในการจัดสวน เช่น ที่คีบเล็ก ๆ ตะเกียบญี่ปุ่น (ปลายแหลม) กรรไกร
o  กระบอกฉีดน้ำ หรือฟอกกี้
o  และสุดท้ายพระเอกของเรานั่นก็คือ!! ต้นไม้ขนาดเล็ก ๆ ตามชอบเลยค่ะ การเลือกพืชที่จะนำมาปลูกก็ต้องแพลนไว้ก่อนนะคะว่าเราจะจัดสวนประเภทไหน เช่น หากอยากตามเทรนด์ฮิปสเตอร์หน่อย จะจัดสวนแนวทะเลทราย แนะนำให้เลือกต้นแคคตัส ซัคคิวเลนท์ ยูโฟเบียร์ จำพวกนี้เป็นต้นค่ะ



   เตรียมอุปกรณ์กันเสร็จแล้วใช่ไหมเอ่ย? พร้อมจะเริ่มจัดสวนกันยังคะ?


   เรามาลุยสวนกันเลยดีกว่า ฮู่เล่! ฮู่เล่!



   สวนขวดนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีเลยค่ะ แต่สำหรับมือใหม่อย่างพวกเราแล้วก็ควรเริ่มจากแบบเบสิกกันก่อนดีกว่า เราจะขอแบ่งขั้นตอนการจัดเป็น 5 ขั้นตอนนะคะ

  

·       เริ่มจากขั้นแรก ใส่กรวดที่เตรียมไว้ลงไปในโหลให้สูงสักครึ่งนิ้ว หรือ 2 เซนติเมตรค่ะ เพื่อทำเป็นชั้นระบายและกักเก็บน้ำไว้นั่นเอง(หากเราจะทำสวนขวดแบบระบบปิดนั้นให้บดถ่านให้ละเอียดแล้วเทกรบชั้นกรวดลงไปบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตรกว่า ๆ เพื่อกรองน้ำและช่วยคงความสดของดินไว้ค่ะ)



·       ขั้นที่สอง ใส่สแฟ็กนั่มมอส (หรือขี้เรื่อย ทราย ตามใจชอบเลยค่ะ) ชั้นนี้จะช่วยไม่ให้ดินในชั้นถัดไปตกลงไปรวมกันชั้นกักเก็บน้ำค่ะ



·       จากนั้นขั้นที่สาม จะเป็นชั้นของดินร่วนค่ะ (หรือพีทมอสก็ได้นะคะ) ใส่ลงไปให้พอประคองต้นไม้ที่เราจะนำมาปลูกได้ค่ะ (จะแอบใส่ถ่านทุบหยาบ ๆ ลงไปเพื่อดูกลิ่นอับเพิ่มนิดหน่อยก่อนเทดินก็ได้ค่ะ) อย่าลืมว่าสามชั้นที่ผ่านมานี้จะเป็นส่วนที่เรามองเห็นจากภายนอกทั้งนั้นนะคะ หากอยากได้สัดส่วนของชั้นไหนเท่าไหร่ก็สามารถกะเพิ่มเติมเอาได้ตามใจชอบเลยค่ะ เกลี่ยดินตกแต่งส่วนเว้า โค้ง นูน สูงได้ตามอัธยาศัยเลยค่ะ (อาจพรมน้ำใส่ดินเล็กน้อยเผื่อตกแต่งหน้าดินได้ง่ายขึ้นค่ะ)



·        มาต่อกันที่ขั้นที่สี่ เป็นขั้นที่พวกเรารอคอยกันค่ะ!! กำพืชในมือให้แน่นแล้วมาปลูกกันโลด! (อย่ากำแน่นจริงนะคะ ค่อย ๆ คีบค่อย ๆ จับค่ะ) ก่อนจะนำต้นไม้มาวางให้ใช้นิ้วจิ้มลงไปในดินให้เป็นหลุมพอดีกับรากของต้นไม้ของเราค่ะ จากนั้นก็ลองนำต้นไม้วางลงไปดู หากใหญ่เกินไปก็สามารถใช้กรรไกรตัดแต่งได้ค่ะ (ค่อย ๆ เล็มนะคะเดี๋ยวพลาด) หากจะปลูกหลายต้นในโหลเดียวกันให้เริ่มปลูกจะต้นที่มีขนาดใหญ่ไปเล็กนะคะ

·       ขั้นที่ห้า มาถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ขั้นนี้เป็นขั้นประดับตกแต่งค่ะ อาจหาหินรูปทรงสวย ๆ หรือตุ๊กตาปูนปั้นเล็ก ๆ มาตกแต่งก็ได้ หรืออาจจะนำหลอดไฟมาประดับเป็นโคมไฟสวนขวดก็ยังได้เลยค่ะ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ฟรีสไตล์ค่ะ ลองสร้างสรรค์สวนขวดสวย ๆ ในแบบที่ไม่เหมือนใครดูก็ได้นะคะ

นำบ้านหลังเล็ก ๆ ไปตกแต่ง
ตกแต่งให้เป็นโคมไฟสวนขวด


       เมื่อเราได้สวนขวดแบบซิกเนเจอร์สวย ๆ ของเรามาแล้ว สิ่งที่สำคัญสุด ๆ เลยก็คือการดูแลสวนค่ะ แน่นอนว่าในขวดของเราไม่มีเมฆฝน หรือพระอาทิตย์ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องจัดการดูแลด้วยตัวเองทั้งหมดค่ะ


       การรดน้ำควรรดตั้งแต่ตอนแต่งสวนเสร็จตั้งแต่ครั้งแรกเลยค่ะ ใช้ฟอกกี้ฉีดพรมให้ทั่วก่อน แล้วทิ้งไว้ให้เริ่มแห้ง จากนั้นค่อยเช็ดขอบโหลให้สะอาดค่ะ สำหรับระบบปิดนั้น หากทำความสะอาดโหลเสร็จแล้วก็สามารถปิดฝาได้ทันทีเลยค่ะ อย่างที่กล่าวไปในตอนแรกว่าพืชในระบบปิดสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องรดน้ำบ่อย ๆ อาจอยู่ได้นานถึง 2 เดือนเลยค่ะ ดังนั้นสำหรับระบบปิดแล้วเราสามารถพรมน้ำสองเดือนต่อครั้งก็ได้ค่ะ

       ส่วนระบบเปิดควรรดน้ำสม่ำเสมอประมาณ 1-2 ครั้งต่ออาทิตย์ หรือรดเมื่อดินเริ่มไม่ชื้นค่ะ ระวังอย่างให้ดินแห้งนะคะ การรดน้ำก็ใช้ฟอกกี้ฉีดเหมือนเดิมเลยค่ะ ถ้าปลูกมอสร่วมด้วยให้หลีกเลี่ยงการฉีดลงบนมอสโดยตรงนะคะ

       สวนขวดนั้นสามารถเจริญเติบโตได้เองค่ะ แต่บอบบางมาก หากโดนแดดโดยตรง หรืออุณหภูมิสูงเกินไปต้นไม้อาจตายได้ค่ะ ดังนั้นไม่ควรวางไว้ใกล้หน้าต่าง หรือบริเวณที่แดดส่องถึงโดยตรงค่ะ 

       หากมีต้นไม้ที่เริ่มเน่า หือเชื้อราในสวนของเราให้รีบน้ำออกมาทันทีค่ะ ก่อนที่เชื้อราหรือเน่าลุกลามไปที่ต้นอื่น และหากมีไอน้ำเกาะโหลจนขุ่น ให้เปิดฝาออกแล้วทิ้งให้ไอระเหยก่อนแล้วใช้สำลีหรือผ้าค่อย ๆ เช็ดรอบขวดจนใสค่ะ



       การทำสวนขวดอาจจะดูยุ่งยากไปบ้างใช่ไหมคะ ทั้งต้องคอยหมั่นดูแลเป็นประจำ คอยรดน้ำ คอยเลี่ยงแดด เพราะว่าต้นไม้ก็เป็นสิ่งมีชีวิตค่ะ หากเราคิดจะเริ่มเลี้ยงเค้า เราต้องดูแลเค้าให้ดีที่สุดนะคะ การทำสวนขวดอาจเป็นการฝึกให้เรารู้จักการเป็นคนที่ดูแลคนอื่นบ้างก็เป็นได้ค่ะ แถมยังได้สวนสวย ๆ มาประดับห้องเอาไว้ผ่อนคลายอีกด้วยนะคะ เป็นไงล่ะ ประโยชน์ของสวนขวดของเรา

       ลองมาเรียนรู้การดูแลคนอื่นด้วยการทำสวนขวดกันดูสิคะ













อ้างอิง : http://www.tinyworld2013.com/
    
    http://www.forfur.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%881

    http://www.forfur.com/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882

http://home.kapook.com/view121690.html

    https://secondhomedd.wordpress.com/2014/07/23/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%99-6-%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD/

http://www.apartmenttherapy.com/how-to-make-a-terrarium-139860