วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

The Sea of Stars


http://soscity.co/article/travelplusscience/bioluminescence-a-beauty-of-beach


     บทความที่แล้วเราพูดถึงแสงบนท้องฟ้าไปกันแล้ว งั้นคราวนี้เรามาพูดถึงแสงสว่างใต้ท้องทะเลกันเถอะ



     หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องทะเลเรืองแสงกันมาแล้วใช่ไหมเอ่ย?



     ท้องทะเลยามค่ำคืนที่เต็มไปด้วยละอองแสงสีฟ้าอมเขียวเรืองรองสว่างไสวแข่งกับแสงดาวบนท้องฟ้า โหย โรแมนติกสุด ๆ ไปเลยใช่ไหมล่ะ?



     ทุกคนคิดว่าสถานที่แบบนี้มีอยู่จริงหรือแค่ภาพแต่งกันนะ?


http://olivergrand.com/beaches-to-add-to-your-bucket-list/


     อ๊ะ ๆ ถ้าคิดว่าที่แบบนี้มีแค่ในหนังเท่านั้นล่ะก็.......คุณคิดผิดค่ะ



     มันมีอยู่จริง ๆ นะคะซิส! แม้แต่ประเทศไทยของพวกเราก็มีสถานที่แบบนี้เหมือนกันนะ



     อย่าทำหน้าไม่เชื่อแบบนั้นสิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติแบบนี้เราสามารถอธิบายสาเหตุได้ด้วยนะ



     ถ้าใครอยากรู้ว่าสิ่งใดกันที่สร้างแสงสว่างให้กับท้องทะเลแบบนี้ ก็เลื่อนลงไปอ่านกันเลยค่า
.
.
.
     เริ่มจากคำถามแรกกันก่อน...อะไรที่ทำให้เกิดแสงสว่างในทะเลแบบนั้นได้?




http://orma.com/sea-life/plankton-facts/




     ตามธรรมชาติ ในทะเลจะมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่แทบจะมองไม่เห็นล่องลอยอยู่มากมายหลากหลายชนิด พวกนี้เรียกรวมๆ กันว่า แพลงก์ตอน (Plankton) โดยแพลงก์ตอนที่สามารถเรืองแสงแบบนี้ได้นั้นเป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่ม ไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellates)  แพลงก์ตอนพวกนี้พบได้ทั่วโลกเป็นปกติ แต่จะแพร่พันธุ์ได้มากเป็นพิเศษ หรือ เกิดการ Bloom ขึ้นในทะเลที่มีแอมโมเนีย ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส อยู่มาก ซึ่งนั่นเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของพวกมันนั่นเอง แต่หากมีมากจนเกินไปอาจเป็นการทำลายระบบนิเวศบริเวณนั้นไปเลยก็ได้นะ










     ส่วนคำถามถัดมา...แล้วแพลงก์ตอนพวกนี้เรืองแสงได้ยังไงกันนะ?

     แพลงก์ตอนเหล่านี้สามารถเกิดปฏิกิริยาพิเศษเรียกว่า Bioluminescence ในออแกเนลล์ชื่อว่า ซินทิลลอนส์ (Scintillons) คล้าย ๆ กับปฏิกิริยาเรืองแสงในหิ่งห้อยเลย แต่เป็นคนละปฏิกิริยาและใช้สารคนละตัวกันเท่านั้นเอง ซึ่งในแพลงก์ตอนนี้จะเกิดปฏิกิริยาระหว่าง Luciferin Protein กับ เอนไซม์ Luciferase โดยใช้ ATP ทำให้เกิดการเรืองแสงสีน้ำเงิน เมื่อแพลงก์ตอนพวกนี้อยู่รวมกันมาก ๆ เราจึงเห็นทะเลเรืองแสงสีน้ำเงิน หรือ เขียวอมฟ้าออกมานั่งเอง

http://fox41blogs.typepad.com/wdrb_weather/2013/10/bizarre-lake-in-australia-glows-in-the-dark.html




     งงอ่ะดิ ไม่ต้องกังวลไปเพราะเราก็งง ฮ่า ๆ ๆ



     สรุปง่าย ๆ แล้วกันนะคะทุกคน แสงของแพลงก์ตอนเหล่านั้นเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์ของมัน และเมื่อเซลล์นับพันล้าน ๆ เซลล์รวมตัวกันก็จะเกิดแสงเรืองรองออกมาให้เราได้เห็นกันนั่นเอง แน่นอนว่ามีปลาหรือพืชบางชนิดที่สามารถเกิดปฏิกิริยาแบบนี้ได้ด้วยนะ อย่างแมงกระพรุน หรือสัตว์น้ำลึกหลาย ๆ พันธุ์...


https://www.pinterest.com/pin/276901077068456726/
https://www.pinterest.com/pin/9499849191805577/





https://www.pinterest.com/pin/31947478577280683/



     แพลงก์ตอนเหล่านี้โดยปกติแล้วก็ไม่มีอันตรายอะไรนะ ทั้งยังสามารถเป็นอาหารให้กับปลาบางชนิดได้อีกด้วย แต่ถ้าหากในทะเลแถบนั้นมี แอมโมเนีย หรือฟอสฟอรัสมาก จนทำให้แพลงก์ตอนนี้มากเกินไปอย่างที่พูดถึงมาแล้วข้างต้นล่ะก็ จะส่งผลให้แพลงก์ตอนชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และปลาที่กินแพลงก์ตอนกลุ่มนี้มากเกินไปก็จะได้รับแอมโมเนียมากผิดปกติ ทำให้ปลาตายได้ แย่กว่านั้นคือ ถ้าชาวประมงจับปลาบริเวณนั้นด้วย คนที่กินปลาเข้าไปก็จะได้รับพิษของแอมโมเนียไปด้วย ซึ่งแอมโมเนียนี้จะมีผลต่อระบบประสาทของเรานั่นเอง



     เห็นสวย ๆ แบบนี้ก็มีอาจเป็นอันตรายได้เหมือนกันนะเนี่ย



     ซึ่งพวกแอมโมเนีย หรือฟอสฟอรัสมากผิดปกติเนี่ย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่เราทิ้งขยะ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำนะคะทุกคน



     ถ้าหากเราอยากรักษาความสวยงามตามธรรมชาติแบบนี้ไว้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ และตัวเราล่ะก็ ต้องเริ่มจากตัวพวกเราก่อนนะ ช่วย ๆ กันรักษาแหล่งน้ำ ช่วย ๆ กันอนุรักษ์ความสวยงามของธรรมชาติด้วยกันนะคะ


http://www.theatlantic.com/photo/2015/01/a-bioluminescent-bloom-in-hong-kong/384759/



     สุดท้ายนี้ขอทิ้งท้ายด้วยคลิปที่ชายหาด Vaadhoo, Raa Atoll Islands, Maldives นะคะ สวยมากจริง ๆ ค่ะ ฮืออออออ




     ถ้าอ่านบทความนี้จบแล้วชอบล่ะก็ สามารถกลับไปตามอ่านบทความน่าสนใจก่อนหน้านี้กันได้ตามลิงค์ภาพด้านล่างนี้เลยนะคะ

 All About Coffee!Aurora PolarisTERRARIUM






อ้างอิง :

http://animals.spokedark.tv/2014/10/01/ostracods-with-bioluminescence/#.V4euo_mLTcc

https://en.wikipedia.org/wiki/Bioluminescence

http://soscity.co/article/travelplusscience/bioluminescence-a-beauty-of-beach

https://tawinan2535yingsom.wordpress.com/2013/12/19/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B0/

http://pantip.com/topic/30869906

http://www.pcd.go.th/info_serv/water_marine.html


Aurora Polaris

https://earthandstarryheaven.com/2015/02/19/aurora-borealis/



     ปรากฏการณ์ธรรมชาติสวยงามต่าง ๆ บนโลกนี้มีให้เราได้เห็นอยู่มากมายกันเลยทีเดียวค่ะ รวมทั้ง แสงขั้วโลก (Aurora Polaris) หรือ แสงออโรร่า (หรืออาจเรียกว่าแสงเหนือ-แสงใต้ก็ได้นะคะ) ที่หลาย ๆ คนคงเคยเห็นในภาพถ่าย หรือไปเห็นกับตามาก็แล้วแต่นี้ก็เป็นอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ธรรมชาติสรรค์สร้างขึ้นมาเช่นเดียวกันค่ะ


Aurora Borealis, Manitoba, Canada
http://photography.nationalgeographic.com/wallpaper/photography/photos/best-pod-june-09/aurora-manitoba/



     แสงออโรร่าคือปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สามารถพบเห็นได้ทั้งบริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ค่ะ โดยแสงเหนือจะใช้ชื่อว่า Aurora Borealis ส่วนแสงใต้จะใช้ชื่อว่า Aurora Australis ซึ่งก่อนหน้าชื่อเหล่านี้ก็มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายเลย แต่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏเป็นชื่อแรกก็คือ Aurora Borealis นี่แหละค่ะ (ชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดยกาลิเลโอ มีความหมายในภาษาละตินว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ โรแมนติกไหมล่ะคะ ฮืออออ)



     ในอดีตมีความเชื่อเกี่ยวกับแสงออโรร่าแตกต่างกันไปตามแต่ล่ะถิ่นฐานมากมายกันเลยทีเดียว อย่างเช่นความเชื่อที่ว่าเป็นแสงที่ดวงวิญญาณพยายามที่จะติดต่อกับมนุษย์ในทวีปอเมริกา หรือในนอร์เวย์ และชาวไวกิ้งมีความเชื่อว่าเป็นวิญญาณของสาวพรหมจารีที่ลงมาร่ายรำในยามค่ำคืนค่ะ และยังมีความเชื่อของชาวเอสกิโม และชนพื้นเมืองทางตอนเหนือของแคนาดาที่เชื่อว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่พยายามติดต่อสื่อสารกับลูก ๆ หลาน ๆ ของตนอีกด้วยค่ะ


http://www.bivrost.com/history/



     หากมองตามความเชื่อก็อาจดูเป็นสิ่งสวนงามที่น่าพิศวงไปในตัวสินะคะ



     แต่ว่าในทางวิทยาศาสตร์นั้น ปัจจุบันสามารถอธิบายสาเหตุการเกิดแสงออโรร่าได้แล้วค่ะ


ภาพอริสโตเติลที่วาดโดย Francesco Hayez เมื่อปี 1811
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101989






     ประวัติศาสตร์การค้นหาความจริงของปรากฏการณ์นี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยอริสโตเติลกันเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าหลักการที่อริสโตเติลได้อธิบายไว้จะไม่ถูกหลักไปทั้งหมด แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นค้นหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ให้พวกเราทุกคนได้รับรู้กันค่ะ









คริสเชียน เบิร์กแลนด์ (Kristian Birkeland)
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Alf_Collett_av_Asta_N%C3%B8rregaard_OB.00253.jpg
   

     และในที่สุดก็มีนักวิทยาศาสตร์คนนึงสามารถอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ได้ค่ะ และเค้าก็มีชื่อว่าคริสเชียน เบิร์กแลนด์ (Kristian Birkeland) ค่ะ


     หากจะให้อธิบายสาเหตุการเกิดตามหลักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดล่ะก็ หัวของคนเขียนคงจะเกิดปรากฏการณ์บิ๊กแบงขึ้นบนโลกแน่ ๆ เลย (ขอตัวไปกินยาระงับประสาทแป๊บนะคะ) เพราะฉะนั้นขอสรุปออกมาตามความเข้าใจแบบง่าย ๆ คร่าว ๆ แทนแล้วกันนะคะ (หากใครยากอ่านแบบเต็ม ๆ คลิกลิงค์นี้เลยค่า http://pantip.com/topic/30338590)








     สาเหตุของปรากฏการณ์นี้เริ่มมาจากดวงอาทิตย์ค่ะ เมื่อดวงอาทิตย์ของพวกเราเกิดการปะทุนั้นจะปล่อยประจุไฟฟ้าออกมา ก่อเป็นพายุสุริยะที่มีกำลังค่อนข้างแรง พุ่งมายังโลกแล้วทะลุผ่านสนามแม่เหล็กโลกไหลเข้ามายังขั้วโลกค่ะ แล้วทีนี้อนุภาคประจุเหล่านั้นก็ทำปฏิกิริยากับก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งก๊าซเหล่านี้ก็ทำให้เกิดแสงหลากสีขึ้นให้เราเห็นนั่นเองค่ะ


http://northernlightstours.com/info-on-northern-lights/what-are-northern-lights/




     เพราะงั้นเราจะสามารถมองเห็นแสงเหล่านี้ได้เรื่อย ๆ ตลอดทั้งปีในบางพื้นที่ แต่จะมีทุก ๆ 11 ปีที่จะเกิดแสงได้บ่อย และชัดกว่าปีอื่น ๆ นั่นก็คือปีที่ดวงอาทิตย์เกิดจุดดับนั่นเองค่ะ ซึ่งพอเกิดจุดดับมาก ๆ ก็จะเกิดการปะทุมาก และพายุสุริยะแรงมาก ๆ ตามไปด้วยค่ะ



     และสาเหตุที่ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะเห็นแสงสีเขียว และสีแดงมากกว่าสีอื่น ๆ นั้นก็เพราะว่า แสงทั้งสองสีนี้เกิดจากการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในแต่ละระดับความสูงนั่นเองค่ะ



     ค่ะ สรุปสาเหตุการเกิดจบแล้วค่ะคุณกิตติ เป็นการสรุปที่เหนื่อยมากเลย (กินยาเพิ่มอีกสองเม็ด)



     หากใครมีงบแล้วอยากไปดูแสงออโรร่านี้ด้วยตาตัวเองล่ะก็ ต้องคอยติดตามข่าวด้วยนะคะ เพราะว่าในแต่ละพื้นที่นั้นจะเกิดขึ้นแตกต่างกันไปค่ะ แต่ก็ต้องเผื่อใจไว้นกด้วยนะคะ เพราะบางทีถึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นแต่ดันเกิดตอนกลางวันก็ทำให้มองไม่เห็นแสงได้ค่ะ (นกตัวใหญ่มาก)



     เอาล่ะ ได้รู้จักแสงออโรร่ากันไปพอประมาณแล้ว ขอตัดจบดื้อ ๆ ตรงนี้เลยนะคะ หัวกำลังจะบิ๊กแบงจริง ๆ แล้วล่ะค่ะ


     ก่อนจะจากกันไปเรามาดูภาพความสวยงามของแสงออโรร่านี้ในแต่ละประเทศกันก่อนดีกว่าโนะ

เมือง Lofoten ประเทศ Norway
https://www.reddit.com/r/pics/comments/1ptf88/northern_lights_norway/


เมือง TROMSØ ประเทศ NORWAY
http://www.kinggoya.com/the-greatest-light-show-on-earth


เมือง Yellowknife ประเทศ Canada
http://www.sensa.si/za-navdih/dih-jemajoci-posnetki-aurore-borealis/


เมือง Calgary ประเทศ Canada
http://mockgirl.com/comic/thats-a-moms-job/


     ความสวยงามจากธรรมชาติที่ต่อให้โลกก้าวหน้า พัฒนาไปมากสักแค่ไหนก็ไม่สามารถเลียนแบบออกมาได้ล้ำค่าและงดงามเทียบเท่านั้นมีอยู่มากมายจริง ๆ นะคะ ดูภาพแล้วรู้สึกปลอดโปร่งขึ้นมาเยอะเลย หวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านจะรู้สึกสนุกไปกับเรานะ แล้วเจอกันบทความหน้าค่า


     ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้สามารถคลิกภาพด้านล่างได้เลยนะ ขอบคุณที่หลงเข้ามาแล้วอ่านจนถึงตรงนี้ด้วยนะคะ (นั้มตาไหล)



http://glassterraruims.blogspot.com/2016/06/easy-terrarium-diy.html

http://glassterraruims.blogspot.com/2016/06/all-about-coffee.html



















อ้างอิง :

http://www.vcharkarn.com/varticle/38509

http://pantip.com/topic/30338590

http://teen.mthai.com/variety/73134.html

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2_(%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)